วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตำแยตัวผู้

ตำแยตัวผู้

ชื่ออื่น ๆ : ตำแยแมว (ภาคกลาง), หานแมว (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha indica Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE.

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง และมีขนาดเล็กเนื้อภายในอ่อน และไม่แข็งแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต เท่านั้น
  • ใบ : ออกใบเดี่ยว มีขนาดเล็กรูปมนรี ปลายใบเรียวเล็ก ขอบใบเป็นจักอยู่รอบใบ มีสีเขียว และใบใหญ่กว่าใบพุทราเล็กน้อย
  • ดอก : จะออกดอกรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของดอกจะคล้าย ๆ กับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่พอบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังติดอยู่ไม่ร่วง
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น ปักชำ
ส่วนที่ใช้ : ใบ ต้น และราก
สรรพคุณ :
  • ใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ ช่วยขับเสมหะ หรือใช้ทาแก้โรค rhurmatism ก็ได้
  • ต้น เอาลำต้นที่อ่อน ๆ เป็นยาใช้ล้างเมือกในท้อง และทำให้อาเจียน เป็นยาระบาย
  • ราก ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่าย
ข้อห้ามใช้ : อย่าทานมากจนเกินขนาด เพราะจะทำให้อาเจียนได้
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ในแถบ tropical vegion คือจะพบอยู่ใน Indochina นั่นเอง
ตำรับยา :
  1. ขับพยาธิ โดยนำใบสดมาทำเป็นอาหารทาน โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ๆ หรือใช้ใบสดคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียมก็ได้
  2. โรคผิวหนัง ใช้ใบสด ๆ ตำผสมกับเกลือแกง ทาตรงบริเวณนั้น
  3. ขับเสมหะ โดยนำใบสด ๆ มาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ให้เหลือเพียง 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย เช้าเย็น
  4. ทำความสะอาดทางเดินอาหาร โดยการนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาน้ำ ซึ่งน้ำที่ได้นี้จะใช้เป็น purgative และยังใช้เป็นยาระบายได้

 

1 ความคิดเห็น: