วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ซองแมว

ซองแมว

ชื่ออื่น ๆ : ซ้องแมวใหญ่ ซ้องแมวน้ำ (ทั่วไป), ซ้องแมวควาย ซองแมว (ภาคกลาง), จิ้งจาย ยอง ขนุน (ภาคใต้), ปะงางอ จิงจ้อ (มลายู-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gmelina villosa Roxb, Gmelina hystrix Kurz.
วงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อยยืนต้น ที่ลำเถาเลื้อยแผ่ไปพาดพิงกับต้นไม้อื่น ได้ไกล ๆ แต่ถ้าไม่มี ที่พาดพิงก็จะขึ้น เป็นพุ่มสูงราว 5.5-9 เมตร
  • ใบ : ใบมีขนาดเล็กเท่ากับใบพุดซา มีลักษณะกลางใบแหลมแยกออกข้างเป็น 2 แฉก ใบมีสีเขียวสด พื้นผิวใบเรียบ
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อยาว ดอกมีสีเหลืองเข้ม ลักษณะปากดอกจะบานออกคล้ายกับกระบอกเขาควาย
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง มีการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง
ส่วนที่ใช้ : ใบ, ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ ใช้ทานเป็นยาแก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ต้มเอาน้ำอม หรือบ้วนปาก แก้ปวดฟัน และแก้เหงือกบวม หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียด แล้วพอกสุมลงบนศีรษะ ช่วยเป็นยาแก้ปวดศีรษะ และกันผมร่วง เป็นต้น
  • ราก มีรสชาติขมเย็น ใช้เป็นยาแก้พิษฝีภายใน แก้ร้อนใน แก้กษัย รักษาตา และเป็นยา ดับพิษทุกชนิด เป็นต้น ใบ และราก นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำช่วยรักษาบาดแผล หรือใช้น้ำหยอดหู แก้เจ็บหรือปวดหู
ถิ่นที่อยู่ : ซองแมว เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นอยู่ตามบริเวณป่าราบทั่ว ๆ ไป

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น