วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กระเพรา

กระเพรา

ชื่ออื่น ๆ : กะเพราแดง กะเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ(เชียงใหม่-ภาคเหนือ)ห่อตูปลู ห่อกวอซู(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Sacred Basil, holy Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum Linn.
วงศ์ : LABRATAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-4 ฟุต โคนของลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม
  • ใบ : ใบสีเขียวเรียกว่า กะเพราขาว ใบสีแดงเรียกว่า กะเพราแดง ใบของมันมีขนเฉพาะส่วนที่เป็นยอดของมันจะมีมากกว่าส่วนอื่น
  • กิ่ง : กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของมันจะอ่อน
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตั้งขึ้นเป็นชั้น ๆ คล้ายรูปฉัตร กลีบดอกกะเพราขาว มีสีขาว แต่ถ้าเป็นกะเพราแดง มีสีชมพูอมม่วง
  • เมล็ด : เมื่อแก่หรือแห่งเมล็ดจะเป็นสีดำ อยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงของมัน
การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดหรือลำต้น ในการขยายพันธุ์ได้ ปลูกขึ้นได้ดีร่วนซุย น้ำน้อย
ส่วนที่ใช้ : ใบ เมล็ด ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งประกอบด้วย linalool และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อนสก 1 กำมือ มาต้มให้เดือดแล้วกรองน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็กทารกให้เอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณรอบ ๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของเด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหารได้อีก สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบาง ชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ จะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
  • เมล็ด นำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
  • ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น