วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตำลึง

ตำลึง

ชื่ออื่น ๆ : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
ชื่อสามัญ : Ivy Gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt)
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยที่มีมือจับ เพื่อเอาไว้เกาะยึดหลักหรือต้นไม้อื่น ๆ ลำเถาสีเขียว
  • ใบ : ออกใบเดี่ยว สลับกันไปตามลำเถา ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสีเขียว
  • ดอก : เป็นไม้ที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกเพศผู้และเมียจะอยู่คนละต้นกัน ซึ่งสังเกตได้จากใบ ถ้าใบจักมากก็เป็นเพศผู้ แต่ดอกสีขาวทรงกระบอกหัวแฉกเหมือนกัน
  • ผล : มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลที่อ่อนมีสีเขียว และมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด เนื้อก็สีแดงรับประทานได้
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นอยู่ตามรกร้างทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถา
สรรพคุณ :
  • ใบ ถ้านำใบสดมาจะถอนพิษหมามุ้ย แก้เจ็บตา ตาฝ้า ตาแดง ตาแฉะ ใช้เป็นยาเย็นดับพิษร้อนก็ได้
  • ราก ของตำลึงนี้มีรสเย็น ทำเป็นยารักษาแก้ดวงตาที่ขึ้นเป็นฝ้า และดับพิษต่าง ๆ
  • เถา น้ำที่คั้นได้จากเถาเรานำมาเป็นยารักษาโรคตาเจ็บได้ หรือตาแดงก็ได้
  • ทั้งต้น (เถา ราก ใบ) นำมาเป็นยาใช้รักษาแก้โรคผิวหนัง โรคเบาหวาน แก้หลอดลมอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
น้ำคั้นจากใบจะมีสารพวกแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง ฉะนั้นจึงไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ไม่ว่าจะเป็นฤทธิ์ต่อการไหลเวียนของเลือด หรือฤทธิ์ต่อการหายใจ
สารเคมีที่พบ : ภายในใบตำลึง เมื่อนำมาคั้นน้ำจะประกอบด้วยน้ำย่อยอะมีเลส (Amylase) ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยแป้งได้

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น