วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ถ่อน

ถ่อน

อื่น ๆ : ทิ้งถ่อน, ถ่อน, ถินถ่อน, นมหวา นุมหวา (ไทยภาคกลาง), แซะบ้อง, เซะบ้อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ : White Siris
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia procera (Roxb.) Benth.
วงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่ปลูกกันตามข้างถนน ลำต้นเป็นสีขาวนวล ผิวเกลี้ยง มีขนาดเท่าต้นก้ามกราม
  • ใบ : ลักษณะใบก็คล้ายกับใบก้ามกราม
  • ดอก : ดอกนั้นก็เช่นเดียวกันคล้ายกับดอกก้ามกราม
  • ผล : ผลนั้นจะออกเป็นฝัก มีลักษณะแบนและใหญ่
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือก เปลือกต้น ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • ใบ นำไปเผาไฟแล้วผสมกับน้ำยาสูบฉุน ๆ ละลายปูนขาวข้น ๆ ใช้ฉีดฆ่าตัวสัตว์และหนอนได้ดีมากเปลือก นำไปต้มกับรากมะตูม รักษาอาการท้องร่วงและอาเจียน
  • เปลือกต้น ใช้เป็นยารักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงธาตุ รักษาธาตุพิการและใช้ขับลมผาย
  • รากหรือแก่น นำไปต้มกินรักษาอาการท้องอืด บรรเทาอาการเจ็บหลัง เจ็บเอว และเส้นท้องตึง
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีในภาคเหนือและภาคกลาง และในกรุงเทพฯ ก็มีปลูกกันบ้างประปราย เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามป่าหญ้าหรือป่าโปร่ง ในที่ต่ำน้ำท่วมถึง

 

กระดอม

กระดอม

ชื่ออื่น : ขี้กาดง ขี้กาน้อย(สระบุรี) ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้กาลาย (นครราชสีมา) ผักแคบป่า (น่าน) มะนอยจา (ภาคเหนือ) มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน) ผักขาว (เชียงใหม่) ดอม (นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะทั่วไป :
  • ผลอ่อนแห้งสีน้ำตาล มีลักษณะภายนอกเป็นผลรูปคล้ายกระสวยหรือรูปรี แหลมหัวท้าย ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เส้นรอบวง 5-7 เซนติเมตร ผิวสาก มีสัน 10 สัน มีเนื้อสีน้ำตาล เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก เป็นริ้ว ๆ สีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นฉุน
สรรพคุณ:
  • ตำรายาไทย: น้ำต้ม เมล็ด รับประมานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก
  • ผล บำรุงน้ำดี ผลอ่อน รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ คลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย เจริญอาหาร แก้สะอึก ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้ รักษามดลูกหลังการแท้ง หรือการคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
  • ทั้งห้าส่วน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ รักษามดลูกหลังจากการคลอดบุตร เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น ดับพิษร้อน
ข้อควรระวัง: ผลอ่อนกินได้ ผลแก่และผลสุกมีพิษห้ามรับประทาน

 

 

กระทืบยอด

กระทืบยอด

ชื่ออื่น ๆ: กะทืบยอด กะทืบยอด (ภาคกลาง); จิยอบต้นตาล (ภาคเหนือ); นกเขาเง้า (โคราช); ทืบยอด (สุราษฎร์); เนี้นซัวเช้า (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Biophytum sensitivum (L.) DC.
วงศ์: OXALIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น: เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ประเภทเดียวกับต้นหญ้า ลักษณะของลำต้นตรงเป็นปล้องข้อ มีสีแดงเรื่อ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซม. มีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ
  • ใบ: ลักษณะของใบเป็นใบที่มีขนาดเล็กฝอยเหมือนกับใบกระถิน ก้านใบจะแผ่แบน รวมกันอยู่บนยอด เหมือนกับร่มที่กาง
  • ดอก: ดอกออกเป็นจุก บริเวณบนยอดลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีสีเหลืองสด
การขยายพันธุ์: เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณที่ชื้นทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้: ลำต้น ราก
สรรพคุณ:
  • ลำต้น เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ แก้กาฬ แก้สะอึก ใช้ถอนพิษเบื่อเมา วิธีใช้โดย การนำมาต้มเอาน้ำดื่ม
  • ราก แก้โรคหนองใน แก้นิ่ว


เฉียงพร้ามอญ

เฉียงพร้ามอญ

ชื่ออื่น ๆ : กระดูกไก่ดำ (ทั่วไป), กุลาดำ, บัวลาดำ (ภาคเหนือ), แสนทะแมน, ปองดำ (ตราด),กระดูกดำ (จันทบุรี), เฉียงพร้า (สุราษฎร์ธานี), เฉียงพร้าบ้าน, สันพร้ามอญ, ผีมอญ, เฉียงพร้าม่าน, เกียงพา, สำมะงาจีน (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gendarussa vulgaris Nees.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้นสีของลำต้นนั้นเป็นสีม่วง สูงประมาณ 1 เมตร
  • ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปหอกแคบ ปลายใบและโคนใบจะแหลม เส้นกลางใบเป็นสีม่วง ขนาดของใบนั้นกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว หรืออาจจะกว่านี้เล็กน้อย ยาว 3-4.5 นิ้ว มีก้านใบสั้น
  • ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น หรือตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะยาประมาณ 3 นิ้ว ลักษณะของดอกนั้นเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายดอกจะแยกออกเป็นกลีบ ซึ่งมีกลีบล่างและกลีบบน กลีบล่างนั้นจะโค้งงอเหมือนช้อน ส่วนกลีบบนจะตั้งกลีบดอกมีสีขาวอมเขียวประด้วยสีชมพู เกสรกลางดอกมี 2 อัน
  • ผล : เป็นฝัก ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว
การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นรั้วตามบ้าน
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณ :
  • ใบ ในแต่ละประเทศนั้นจะใช้ใบรักษาไม่เหมือนกันแต่ก็ได้ผลไม่น้อยเลย เช่นในอินเดียได้นำใบมาตำแล้วคั้นเอาน้ำดื่มแก้ปวดหัว, มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีวิธีใช้เหมือนกัน นำใบมาตำผสมกับเมล็ดเทียนแดงและหัวหอม ใช้พอกแก้ปวดหัว หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำทาแก้ปวดท้อง ปวดตามข้อ ถ้าต้มกับน้ำจะเป็นยาบำรุงโลหิตได้, ในฟิลิปปินส์ใช้ใบต้มกับนมทานแก้ฝีฝักบัวและแก้ท้องร่วงอย่างแรง หรือนำใบมาคั้นเอาน้ำดื่มแก้โรคหืดและไอ, ส่วนไทยเรานี้เอาใบตำผสมกับเหล้าคั้นเอาน้ำทานแก้ไข้ ลดความร้อน เป็นยาถอนพิษและเอากากที่เหลือนั้นพอกแผลดูดพิษที่ถูกอสรพิษกัดได้
  • ราก ใช้ทาเด็กที่เป็นเม็ดเป็นตุ่มขึ้นตามตัว

 

ครอบจักรวาฬ

ครอบจักรวาฬ

ชื่ออื่น ๆ : ครอบ, ครอบจักรวาฬ, ตอบแตบ,บอบแปบ,มะก่องเข้า (พายัพ),ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง ( โคราช ) , ครอบตลับ ครอบฟันสี, หญ้าขัดหลวง, หญ้าขัดใบป้อม, ขัดมอนหลวง
ชื่อสามัญ : Country mallow, Indian mallow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abutilon indicum (L.) Sweet
วงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล
  • ใบ : ใบจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล
  • ดอก : ดอกจะโตประมาณ 2 – 3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง
  • ผล : ผลนั้นจะมีลักษณะกลมเป็นกลีบ ๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีขี้นมากทางภาคเหนือ ในระดับสูงตั้งแต่ 1,500 เมตร และในภาคกลางก็มีปลูกบ้าง
สรรพคุณ :
  • ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
  • ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
  • เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
  • รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
  • เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง
ตำรับยา :
  • แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้  ใช้ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน
  • แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล
  • แก้หกล้ม เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง ใช้รากแห้ง 60 กรัม ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
  • แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน
  • แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A. Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda. Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน
  • แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน
  • ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ
  • แก้บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
  • แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1 ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง พอกที่แผล

 

 

หญ้าไข่เหา

หญ้าไข่เหา

ชื่อสามัญ    หญ้าไข่เหา ( ลำปาง )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชค้างปี (annual) พบขึ้นอยู่ตามชายป่า ใต้ที่ร่มและชุ่มชื้น มีกิ่งแขนงแตกออกจากซอกใบจำนวนมาก ลำต้นทอดเลื้อยปลายยอดตั้งชันขึ้น (ascending) ความสูงของต้น 71.28- 145.18 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3.95- 7.67 มิลลิเมตร ลำต้นกลมและค่อนข้างเหนียว สีเขียวเข้มผิวมัน มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมจำนวนมาก ข้อ (node) สีเขียวมีขนสีขาวคลุมรอบๆหนาแน่น ลักษณะของข้อพองออกเล็กน้อย ข้อที่แตะดินไม่มีรากงอก ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolate) โคนใบมน แผ่นใบกว้าง ปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ใบยาว 23.29- 27.43 เซนติเมตร กว้าง 1.62- 1.96 เซนติเมตร เส้นกลางใบ (mid rib) ด้านหน้าใบจากโคนใบถึงกลางใบเป็นร่องเห็นชัดเจน ด้านหลังใบเป็นสันเล็กค่อนข้างแข็ง สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างหนาและนุ่ม มีขนสีขาวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยถี่ (serrulate) กาบใบ (sheath) สีเขียวเข้มมีขนคลุมจำนวนมาก บริเวณขอบกาบใบมีขนยาว 3-4 มิลลิเมตรขึ้นอยู่จำนวนมาก กาบใบกลมหุ้มลำต้น ความยาวกาบใบ 5.66- 7.66 เซนติเมตร ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นเยื่อขอบลุ่ยเป็นเส้นๆ (membranous frayed) ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน (rolled in bud) ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกมีช่อดอกย่อยจำนวนมาก กลุ่มดอกดกหนาแน่น ช่อดอกสดสีเขียวอมเหลืองอ่อนมีน้ำเหนียวจับจะติดมือ ช่อดอก (inflorescence) ยาว 21.0- 35.3 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 19.5- 26.5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยยาว 7.13- 11.53 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อย (spikelet) เกาะกันอยู่เป็นคู่ๆ มีก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลุ่มดอกย่อยรูปรี ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีกาบหุ้ม (glume) บนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร glume ล่างยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร glume บนมีดอก (floret) ที่มี lemma และ palea หุ้มเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (fertile) floret ล่างเป็นดอกหมัน (sterile) ดอกแก่ร่วงทั้งชุด
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ใน ที่ร่มเงาและชุ่มชื้น ริมหนองน้ำ ดินร่วน ร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 124- 442 เมตร เช่นเขตพื้นที่ตำบลบ้านโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล (PC 386, PC 585, SN 43 )
คุณค่าทางอาหาร  อายุประมาณ 40 วัน มีค่า โปรตีน 12.90 เยื่อใยส่วน ADF 31.60 NDF 56.72 แคลเซียม 0.66 ฟอสฟอรัส 0.25 โปแตสเซียม 1.82 มิโมซีน 0.89 ไนเตรท 36.62 ppm. กรดออกซาลิค 0.82 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.50 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของ โค กระบือ ปลูกขึ้นปรับตัวได้ดีในสภาพดินเหนียวเนื้อละเอียดและดินเหนียวปนลูกรัง

 

 

ระย่อม

ระย่อม

ชื่ออื่น ๆ : กะย่อม (ใต้), เข็มแดง, ย่อมตีนหมา (เหนือ-พายัพ), กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละย่อม(สุราษฎร์), ตูมคลาน, มะโอ่งที, คลาน, สะมออู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz
วงศ์ :   Apocynaceae
ลักษณะทั่วไป :
  • ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลำต้นจะมีความสูงไม่เกิน 60 ซม. เปลือกจะเป็นสีขาว และมีน้ำยางสีขาว จะผลัดใบในฤดูแล้ง และจะผลิใบใหม่ในฤดูฝน ส่วนดอกนั้นจะออกต้นฤดูหนาว
  • ใบ : จะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบจะเป็นรูปรีแกมรูปหอก ตรงปลายใบแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 1.5-10 ซม. และมีความยาวประมาณ 5-21 ซม.
  • ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาว ชมพู หรือสีแดง ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็ม ก้านดอกจะเป็นสีแดง มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ มีลักษณะเป็นหลอโค้งเล็กน้อย
  • ผล : ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีดำ ผลนั้นจะมีลักษณะเป็นผลแฝดติดกันตรงโคนด้านใน และจะอุ้มน้ำ ผลจะมีความยาวประมาณ 1-1.8 ซม.
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก
สรรพคุณ :
  • รากสด : เป็นยารักษาหิด
  • รากแห้ง : เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร
  • ดอก : แก้โรคตาแดง
  • น้ำจากใบ : ใช้รักษาโรคแก้ตามัว
  • เปลือก : แก้ไข้พิษ
  • กระพี้ : บำรุงโลหิต