วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คูน

คูน


ชื่ออื่น ๆ : ลมแล้ง ( ภาคเหนือ ) ,ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง),ลักเคย , ลักเกลือ (ปัตตานี ),กีเพยะ (กะเหรี่ยง), ปูโย,ปีอยู,เปอโช,แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),เช็งเชียชัวเพียงเต่า,อาเหล็กปก(จีน)
ชื่อสามัญ : Golden Shower, Indian Laburnm, Puddingping Tree, Purging Cassiai
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula Linn.
วงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : คูนเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบ : เป็นใบประกอบ ตรงปลายก้านของมันจะเป็นใบคู่ ใบย่อยมี 4-8คู่ ใบย่อยนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่มีความยาวประมาณ 6-15 ซม. และกว้างประมาณ 3.5-5 ซม. ปลายใบจะแหลม ส่วนโคนก้านใบร่วมบริเวณที่ติดกับกิ่งจะพองออกเล็กน้อย
  • ดอก : ดอกนี้นจะออกเป็นช่อห้อยระย้าลงมาจากง่ามใบ ดอกจะมีสีเหลือง ปลายมน จะเห็นลายเส้นเจน ดอกมีเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ซม.
  • รังไข่ : รังไข่นั้นจะมีลักษณะเป็นเส้นยาวและงอขึ้น
  • เมล็ด (ผล) : ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปทรงกระบอกยาว ตรงปลายของมันจะแหลมและสั้น เมื่อฝักยังอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีดำ จับดูเปลือกนอกจะแข็งเหมือนไม้ มีความยาวประมาณ 30-60ซม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.5-2 ซม. ภายในฝักนั้นจะมีแผ่นกั้นเป็นห้อง ๆ ตามขวาง ในแต่และห้อง จะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด จะมีลักษณะกลมแบน ส่วนผิวนอกมีสารอ่อนนุ่มสีดำหุ้มเมล็ด
การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ฝัก ใบ ดอกเปลือกราก แก่น เนื้อในฝัก และรากเป็นยา
สรรพคุณ :
  • ฝัก ควรเก็บเมื่อแก่มีสีดำ นำมาตากให้แห้งเก็บไว้ใข้ ฝักนั้นจะมีรสหวานขม เปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็น เอียน ๆ เฉพาะตัว ฝักที่ดีควรสมบูรณื ไม่มีก้าน เมื่อแห้งแล้วเขย่าจะไม่มีเสียง ควรใช้ฝักประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำกิน ในฝักจะมีสาร anthraquinone อยู่ ใช้ทำเป็นยาระบายสำหรับ ผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ หญิงมี ครรภ์ใช้ฝักคูนเป็นยาระบายได้ นอกจากนี้ยังใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ รักษาเด็กที่เป็นโรคตานขโมย และ โรคไข้มาลาเรียด้วย
  • ใบ ใช้สดหรือตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่าย รักษาอัมพาต และใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง ส่วนใบอ่อนใช้เป็นยา รักษาไข้รูมาติค (Rheumatic fever) ใช้สำหรับภายนอก นำมาตำพอกหรือใช้คั้นเอาน้ำมาทา รักษาโรค กลากเกลื้อน ทาลูนวดบรรรเทาอาการปวดข้อ และรักษากล้ามเนื้อบางส่วนบนใบหน้า เป็นอัมพาต (Facial paralysis)
  • ดอก ใช้สดหรือตากแห้ง ใช้เป็นยาถ่าย สำหรับหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และแผล เรื้อรัง
  • เปลือกราก ใช้สดหรือแห้ง ทำเป็นยาระบาย รักษาโรคไข้มาลาเรีย
  • แก่น ใช้หรือตากแห้ง ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน
  • เนื้อในฝัก ใช้ฝักแก่แกะเปลือกนอกและเมล็ดออก สกัดด้วยนำร้อนที่กรองและระเหยน้ำออกในที่มีความดันต่ำ จะได้สีดำข้นเหลวนำมาใช้ เนื้อในฝักนั้นจะมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาถ่าย และยาระบายในคนที่ท้องผูก เป็นประจำรักษาใข้มาลาเรีย บิด ใช้สำหรับภายนอกพอกรักษาอาการปวดข้อเมล็ด ใช้ประมาณ 5-6 เม็ด นำมาบดเป็นผงกิน เป็นยาระบาย และเป็นยากระตุ้นช่วยให้อาเจียน
  • เปลือกต้น ใช้เป็นยาช่วยเร่งคลอด รักษาอาการท้องร่วงนอกจากนี้ยังใช้ย้อมหนังสัตว์ก็ได้ ราก เป็นยาบำรุง รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ และโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี และเป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาอาการไข้ ใช้สำหรับภายนอกพอกรักษาอาการปวดตามข้อได้
อื่น ๆ : มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ปลูกตามริมถนนเป็นไม้ประดับ มีดอกออกในฤดูร้อน สีเหลืองทั้งต้นดูสวยงามมาก หรือพบขึ้นเองตามป่าโปร่งทั่วไป โดยเฉพาะในภาคอีสานจะมีมาก
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดในเอเซียเขตร้อน
ตำรับยา
1. ใช้เป็นยาถ่ายหรือยาระบายสำหรับผู้ใหญ่ ใช้เนื้อในฝักประมาณ 8 กรัม นำไปผสมกับน้ำมะขามเปียก หรือน้ำตาลในปริมาณที่เท่ากัน ถ้าต้องการให้ถ่ายแรง ควรกินในปริมาณ 30-60 กรัม ปริมาณสูงอาจจะทำให้เกิดอาการปวดมวนท้องคลื่นไส้ และท้องอืดแน่นได้
2. ใช้เป็นยากระตุ้นให้อาเจียน ใช้เมล็ดประมาณ 5-6 เม็ด นำมาบดเป็นผงกินได้
3.ใช้รักษาโรคกลาก และโรคผิดหนังที่เกิดจากเชื้อรา เอาใบสดตำให้ละเอียดนำไปพอกหรือใช้ถูทาตามบริเวณที่เป็น
ข้อมูลทางคลีนิค : รักษาโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้ฝักประมาณ 30 กรัมใส่น้ำนำไปต้มให้เหลือประมาณ 10 มล. ให้กินครั้งเดียว หมด วันละ 3 ครั้ง ปรากฎว่าได้ผลดีมาก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย รักษาท้องผูก มีกรดในกระเพาะอาหาร มากเกินไป เบื่ออาหาร ใช้ยานี้ต้มให้เดือดพอควรแล้วกิน ถ้าต้มนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง ยานี้จะไม่มีฤทธิ์เป็นยา ระบาย กลับจะทำให้ท้องผูก ยาต้มนี้ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้อาเจียนส่วยฝักที่ไม่แก่จัดให้ใช้เป็นยา ระบายได้ดีกว่า
ข้อมูลทางเภสัช
1. เปลือกราก มีฤทธิ์รักษาอาการอักเสบของหนูใหญ่สีขาวได้อย่างมีนัยสำคัญวิทยา
2. น้ำสกัดจากเนื้อในฝักนั้น จะมีผลเล็กน้อยต่อความดันโลหิตของสุนัขและแมวที่ทำให้สลบ ทำให้มีฤทธืยับ ยังการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็ก ของกระต่ายและหนูตะเภา เนื้อในฝักที่สกัดเอาน้ำตาลออก มีฤทธิ์ทำให้ถ่ายมากกว่าเนื้อในฝักที่ไม่ได้สกัดน้ำตาลออก นอกจากนี้สารสกัดที่ได้จากใบ เปลือกต้น เนื้อในฝัก ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
3. ฝักและเปลือกรากที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ยังมีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อไวรัส Ranikhet disease virusและ Vaccinia Virus นอกจากสารนี้แล้วยังมีสารสกัดด้วยอะซีโตน (acetone) จากเปลือกราก เปลือกต้น จะมีฤทธ์ฆ่าเชื้อรา
(Microsporum tonsurans, Trichophyton rubrum, และ T.megninii)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น