วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros Rhodcalyx
ชื่อวงศ์ :  Ebenaceae
ชื่ออื่น : ตะโกนา (ลำปาง) พระยาช้างดำ (ทั่วไป) โก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) นมวัว (นครราชสีมา) มะโก (เหนือ) มะถ่าน ไฟผี (เชียงใหม่)
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ตะโกนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรียกชื่อ ตะโก หรือพญาช้างดำ เปลือกสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนา ใบตะโกนาเป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่กลับ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้น ผิวเกลี้ยงท้องใบเมื่อยังอ่อนมีขนเล็กน้อย ดอกตะโกนา ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็ก ตามง่ามใบ มีขนนุ่มดอกเพศเมียออกเดี่ยว ผลตะโกนา กลม เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีน้ำตาลแดง ขนเหล่านี้ร่วงง่าย โคนและปลายผลมักบุ๋ม
สรรพคุณ :
                    -  ผล รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง ตกโลหิต แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กษัยเส้น แก้ฝีเน่าเปื่อย
                       เปลือกลูก เผาเป็นถ่าน แช่น้ำร้อนรับประทาน ขับฤดูขาว ขับปัสสาวะ
                    -  เปลือกต้น และเนื้อไม้ รสฝาดติดขม สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น