วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข้าวโพด

ข้าวโพด

ชื่ออื่น ๆ : ข้าวสาลี สาลี(ภาคเหนือ) โพด(ภาคใต้) บือเคส่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ข้าวแข่(เงี้ยว-ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เง็กบี้ เง็กจกซู่ (จีน)
ชื่อสามัญ : Indian corm,Maize
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays Linn.
วงศ์ : GRAMINEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : ข้าวโพดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันนำไปปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ลำต้นนั้นอวบตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามมีลักษระคล้ายฟองน้ำมีความสูงประมาณ 1.4 เมตร
  • ใบ : จะเป็นเส้นตรงปลายของมันแหลมยาวประมาณ 30-100 ซม. กว้างประมาณ 2-10 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบจะมีขนอ่อน ๆ สีขาว
  • ดอก : ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) ช่อดอกตัวผู้อยู่ที่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น ดอกย่อยจะมีก้านเกสรตัวผู้ 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลืองส้ม ยาวราว 5 มม. ยอดเกสรตัวเมียจะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายกับเส้นไหมยาวและยื่นพันออกมาเป็นจำนวนมาก
  • ฝัก : เกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจให้ฝักมากกว่าหนึ่งฝักก็ได้ ฝักข้าวหุ้มด้วยกาบบางหลายชั้น ฝักอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล เราเรียกว่า เปลือกข้าวโพด ฝักข้าวโพดจะประกอบด้วยซังข้าวโพด (cob) ซึ่งเป็นที่สำหรับให้ผลที่เราเรียกว่าเม็ดเกาะ
  • เมล็ด(ผล) : ผลจะเป็นฝักทรงกระบอกยาว ในฝัก 1 ฝัก มีเม็ดเกาะอยู่ประมาณ 8 แถว แถวหนึ่ง ๆ จะมีเม็ดประมาณ 30 เม็ด และมีสีได้ต่าง ๆ กันเช่นสีนวล เหลือง ขาว หรือม่วงดำ
การขยายพันธุ์ : โดยการเอาเมล็ดมาเพาะ
ส่วนที่ใช้ : เมล็ด (เม็ด) ราก ใบ ช่อดอก ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) และซังข้าวโพดใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
  • เมล็ด ใช้ต้มกินหรือจะเอามาบดเป็นแป้งทำขนมกิน ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทานมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และใช้พอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง
  • ซัง ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 10-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือเอามาเผาเป็นถ่านผสมกับน้ำกิน มีรสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ รักษาบิดและท้องร่วง ใช้ภายนอกเผาเป็นเถ้า บด ผสมกันใช้ทา ต้นและใบ ใช้จำนวนพอสมควรใช้สดหรือแห้ง นำมาต้มน้ำกิน รักษานิ่ว
  • ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือนำมาเผาเป็นเถ้า บด ผสมกิน หรือใช้ภายนอก ใช้สูบหรือรมควัน มีรสชุ่ม ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำดี บำรุงตับ รักษาตับอักเสบเป็นดีซ่าน ไตอักเสบบวมน้ำ ความดันเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี อาเจียนเป็นเลือด เบาหวาน โพรงจมูกอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฝีหลายหัวที่เต้านม เลือดกำเดาอักเสบ
  • ราก ใช้แห้งประมาณ 60-120 นำมาต้มน้ำกิน รักษษนิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้
  • แป้ง แป้งข้าวโพดเปียกใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับบุคคลที่ฟื้นจากการเป็นไข้ แป้งข้าวโพดเป็นแป้งที่ย่อยง่าย เชื่อกันว่าขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมปัง ที่ทำมาจากแป้งสาลี สมควรใช้กับบุคคลที่เป็รโรคเกี่ยวกับตับและไต น้ำมัน ประกอบด้วยกรดไขมันคือ กรดโอเลอิค (oleic) ร้อนละ 37 กรดลิโนเลอิค (linoleic) ร้อยละ 50 กรดปาล์มมิติค (plamitic) ร้อยละ 10 และกรดสเตียริค (stearic) ร้อยละ 3 น้ำมันข้าวโพดสามารถนำมาประกอบอาหาร ใช้เป็นตัวทำละลายของสาร ergosterol เอามาเติมไฮโดรเจน (hydrogenated) น้ำมันจะแข็งขึ้นนำมาทำเป็นเนยเทีนมใช้ทำขนมเค้กตามที่ต้องการให้เป็นมัน
ตำรับยา
1. รักษานิ่ว ควรใช้ต้นและใบสดหรือแห้ง โดยการนำมาต้มน้ำกิน หรือจะใช้รากที่แห้งประมาณ 60-120 กรัม ต้มน้ำกิน
2. รักษษโรคเบาหวาน โดยใช้ยอดเกสรตัวเมียที่ตากแห้งนำมาประมาณ 30 กรัม ต้มน้ำกิน
3. รักษาท้องร่วง โดยนำซังข้าวโพดที่เผาเป็นถ่านมาบด แล้วผสมน้ำกิน
4 รักษาเนื่องจากบวมน้ำ ควรใช้ซังข้าวโพดแห้ง 60 กรัม ฮวงเฮียงก้วย (ผลของ Liquidambar taiwaniana Hance) 30 กรัม นำมาต้มน้ำกิน
5. ขับปัสสาวะ โดยใช้ยอดเกสรตัวเมียเมื่อซังข้าวโพดเอามาต้มกินแทนน้ำชาได้
6. ไตอักเสบ หรือเริ่มเป็นนิ่วที่ไต ให้ใช้ยอดเกสรตัวเมียพอสมควร ต้มจนข้นแล้วกิน
7. ความดันเลือดสูง ให้นำยอดเกสรตัวเมียที่แห้ง เปลือกแตงโมแห้งและเปลือกกล้วยหอมแห้งเอามาอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มกิน
8. ความจำเสื่อมลืมง่าย ใช้ยอดเกสรตัวเมียแห้งเอามาใส่ลงในกล้องยาสูบแล้วจุดสูบ
9. ตรากตรำทำงานหนัก ไอเป็นเลือดหรือตกเลือด ใช้ยอดเกสรตัวเมีย ต้มกับเนื้อสัตว์แล้วกิน
10. เด็กเป็นแผลที่ผิวหนังมีเลือดออก ให้ใช้ซังข้าวโพดเผาให้เป็นเถ้า นำมาผสมน้ำมันเมล็ดป่าน หรือน้ำมันพืชทาได้
ข้อมูลทางคลีนิค
1. โรคเกี่ยวกับไต ให้ใช้ยอดเกสรตัวเมียที่แห้ง 60 กรัม นำมาต้มกินวันละ 2 ครั้ง แล้วกินโปแตสเซี่ยมคลอโรด์ร่วมด้วย โดยทั่วไปกินยานี้เข้าไปแล้ว 3 วัน ปัสสาวะมีมากขึ้น ปริมาณของอัลบูมินและสารจำพวกไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนในปัสสาวะนั้นลดลง คนไข้บางรายจะมีปริมาณอัลบูมินในโลหิตสูง บางรายความดันโลหิตจะลดลงสู่ระดับปรกติ
2. โรคไตอักเสบเรื้อรัง ให้ใช้ยอดเสรตัวเมียที่แห้ง 50 กรัม ใช้ต้มกินน้ำ มีฤทธิ์หลักคือช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานดีขึ้น จากการบวมน้ำและปริมาณอัลบูมิน ในปัสสาวะนั้นลดลง คนไข้ที่กินติดต่อกัน 6 เดือน ยังไม่ปรากฏอาการพิษ
3. รักษาอาหารไม่ย่อย ให้ใช้ข้าวโพด 500 กรัม เปลือกทับทิม 120 กรัม นำไปพิงไฟให้แห้ง แล้วบดเป็นผง เอามาผสมกับน้ำให้ได้ประมาณ 1500 มล. แล้วกินประมาณ 10มล. ต่ออายุ 1 ปี สามารถรักษาอาการพิษได้ ในช่วงการรักษาต้องระวังคอยดูแลระดับน้ำ และอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้เกิดอาการผิดปรกติ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น